วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท
เครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 6 ประเภท

1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน        (Local  area  network  :  LAN
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน                        (Metropolition  area  network  :  MAN)
3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน                       (Wide  area  network  :  WAN)
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต          (Intranet)
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต    (Extranet)
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต                                  (Internet)
อินทราเน็ต คืออะไร
ความจริงแล้วเรื่อง อินทราเน็ตคืออะไรนี้ น่าจะเป็นบทความแรกที่ผมเขียน แต่กลายเป็นบทความที่เกี่ยวกับอินทราเน็ตบทความที่ 6 มันก็น่าแปลกใจอยู่เหมือนกันครับว่า ทำไมถึงเพิ่งมาเขียน แล้วถ้าท่านได้อ่านบทความอื่นๆไปก่อนแล้ว ท่านก็อาจพบว่าผมได้เขียนอธิบายไว้มากแล้ว ว่าอินทราเน็ตคืออะไร แต่ผมก็มีเหตุผลครับที่จะต้องมาเขียนเรื่องนี้อีกครั้ง แม้เขียนแล้วจะซ้ำๆกับของเดิมก็ตาม เหตุผลแรกคือเพื่อให้ความหมายของ Intranet อย่างเด่นชัด ผู้อ่านใหม่ๆที่ยังไม่รู้จักอินทราเน็ต จะได้มาอ่านบทความนี้ จะได้เข้าใจอินทราเน็ตได้อย่างชัดเจน อีกเหตุผลหนึ่งคือก็เหตุผลที่มาจากเหตุผลแรก คือผมพบคนที่รู้จักอินทราเน็ต แบบงงๆเยอะเหลือเกิน นี่แหละครับทำให้ผมตัดสินใจเขียนเรื่องนี้อีกที
อินทราเน็ต คือการใช้เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ต สำหรับงานภายในองค์กร จะเรียกนิยามข้างต้นว่านิยาม หรือคำจำกัดความก็ได้ ส่วนผมขอเรียกว่านิยาม เพราะก่อนเรียนคอมพิวเตอร์ผมเรียนคณิตศาสตร์มาก่อน เลยนิยมใช้นิยามเพราะรู้สึกว่ามันแน่นอนดี แต่ในหนังสือภาษาไทยหลายเล่ม แม้การพูดอธิบายในวิทยุ ที่ผมเคยได้ยินได้อ่านมา เขาบอกว่า อินทราเน็ต ก็คือเครือข่ายในองค์กร หรือจะแปลอินทราเน็ตว่าเครือข่ายในองค์กร แล้วเรียกอินเตอร์เน็ตว่า เครือข่ายระหว่างองค์กร พูดตามตรงว่าผมได้เห็นได้ยินแล้วหงุดหงิด ในฐานะที่ผมเป็นนักกฎหมาย รู้สึกว่าคำว่าเครือข่ายในองค์กรนั้นมันคลุมเคลือ คนได้ยินได้อ่านแล้วเข้าใจผิด คนที่คุ้นเคยกับอินเตอร์เน็ตดี อ่านรู้สึกเฉยๆเพราะเข้าใจ แต่ผมซึ่งต้องไปคุยไปพบกับหลายคน ซึ่งจะคุยกันเรื่องอินทราเน็ต ตอนแรกก็ดีใจที่เขาสนใจอินทราเน็ต แต่คุยแล้วพบว่าเขาเข้าใจผิด ซึ่งเกิดมาจากการแปลอินทราเน็ตว่า เครือข่ายภายในองค์กรนี้นั่นเอง เขาเข้าใจว่า LAN หรือ Network อะไรที่เขามีอยู่นั่นแหละคืออินทราเน็ต คือเขาตีความต่อจากคำว่าเคลือข่ายภายในองค์กร นี่แหละครับผมถึงบอกว่ามันคลุมเคลือ
ในเมื่อมันคลุมเคลือหรือมันเคลือบคลุม ก็ไม่น่าจะใช้คำว่าเครือข่ายภายในองค์กร ถ้าไม่อยากใช้นิยามของผม ซึ่งความจริงก็แปลฝรั่งมาอีกที ผมว่าใช้ทับศัพท์ไปเลยว่า อินทราเน็ตจะดีกว่า อย่าไปแปลเลยครับ มันไม่เข้าท่า อินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตนั้น ถ้าจะเทียบไปแล้วก็เหมือนยี่ห้อ เวลาคุณไปซื้อผงซักฟอกยี่ห้อบรีส คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปสั่งว่า ขอซื้อผงซักฟอกยี่ห้อลมหายใจสดชื่น หรืออาจเทียบได้กับชื่อภาพยนตร์ เวลาเราซื้อภาพยนตร์จากต่างประเทศ เข้ามาฉายในประเทศไทย เราก็ต้องตั้งชื่อเป็นภาษาไทย เราไม่ได้แปลชื่อฝรั่งเป็นไทยนะครับ ผมได้ยินคนบ่นเพราะเข้าใจผิดหลายคน เขาบ่นว่าภาษาอังกฤษอย่างหนึ่ง ทำไมแปลเป็นไทยได้อีกอย่างหนึ่ง เขาคิดว่าแปลผิด แต่ความจริงไม่ได้แปลผิด แต่เข้าตั้งชื่อใหม่เป็นภาษาไทย อย่างเช่นหนั่งฝรั่งเรื่อง Ghost ก็ไม่ได้ตั้งชื่อภาษาไทยว่าผี แต่ตั้งว่า วิญญาณ ความรัก ความรู้สึก ถ้าในประเทศลาวก็ไม่ได้แปล หรือไม่ได้ตั้งตามชื่อไทย แต่ตั้งเป็นภาษาลาวเองว่าปั้นหม้อล่อผัว (มาจากคุณอุดม แต้พานิช ผิดถูกอย่างไรไปว่าแกเอง) ดังนั้นอินทราเน็ตถ้าหาชื่อภาษาไทยไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปแปลว่าเครือข่ายในองค์กร ในคนฟังเข้าใจผิด เรียกมันอินทราเน็ตนั่นแหละ
คราวนี้มาถึงนิยาม การใช้เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ต สำหรับงานภายในองค์กร กันบ้าง บางท่านก็อาจบอกว่า ฟังไม่เห็นรู้เรื่องเลย บางท่านก็อาจแย้งว่า มันก็คลุมเคลือเหมือนกัน อะไรคือเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ต อะไรคืองานภายในองค์กร ถ้าใช้ภาษาเลียนแบบรัฐธรรมนูญ ก็ต้องเขียนว่า ความหมายของเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ต ให้เป็นไปตามที่กฎหมายลูกบัญญัติ ความหมายของงานภายในองค์กร ก็ให้เป็นไปตามที่กฎหมายลูกบัญญัติเหมือนกัน นั่นก็เป็นวิธีทำให้นิยามไม่คลุมเคลือ ส่วนกฎหมายลูกจะออกมา แล้วคลุมเคลือหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เอาล่ะคราวนี้เราก็มาออกกฎหมายลูก เอ๊ะ!ไม่ใช่!เรามานิยามต่อดีกว่า คำถามคือเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตคืออะไร ถ้าจะนิยามต่อก็ต้องนิยามเทคโนโลยี ต้องนิยามอินเตอร์เน็ต สงสัยผมคงต้องเขียนอีกหลายวันกว่าจะจบ ถ้าอย่างนั้นบอกไปเลยดีกว่าว่า เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตมีอะไรบ้าง แบบนี้จะง่ายกว่านะครับ คราวนี้มาลองไล่ดูว่ามีอะไรบ้าง 1. World Wide Web 2. E-mail 3. FTP 4. IRC 5. Firewall 6. อ่านดูในบทความเรื่อง การใช้เทคโนโลยีอื่นนอกจาก World Wide Web สำหรับอินทราเน็ต 7. และอื่นๆอีกมากที่ยังไม่ได้กล่าวถึง
ต่อมาก็ต้องนิยาม งานภายในองค์กรบ้าง คราวนี้ยิงนิยามยากใหญ่ เพราะองค์กรแต่ละประเภท จะให้เหมือนกันได้อย่างไร งานภายในมหาวิทยาลัย ย่อมไม่เหมือนกับบริษัทน้ำมัน และทั้งคู่ก็ไม่เหมือนกับโรงงานปูนซิเมนต์ เอาเป็นว่าก่อนมีอินเตอร์เน็ต ถ้าองค์กรของคุณใช้คอมพิวเตอร์ทำอะไร ทั้งหมดนั้นก็คืองานภายในองค์กร ที่คุณจะนำอินทราเน็ตเข้าไปใช้ได้ทั้งนั้น แล้วงานอะไรที่คุณยังไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ทำ แต่คิดว่าจะทำหรือควรทำ ทั้งหมดนี้ก็เป็นงานในความหมายของอินทราเน็ตทั้งนั้น แปลว่าอินทราเน็ตทำได้ทุกอย่างที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำ ส่วนจะเหมาะสมหรือไม่ หรือต้องเสียเงินแค่ไหนนั้นเราไม่พูดกันนะครับ มาถึงตรงนี้ก็แปลว่าอินทราเน็ตทำได้ทุกอย่าง เขียนแบบนี้คนที่ไม่รู้จักก็จะงงไม่รู้จะเริ่มยังไง ถ้าอย่างนั้นผมแนะนำว่างานแรก ก็พยายามทำ home page เพื่อให้ข้อมูลทุกอย่างที่พนักงานในบริษัทคุณควรรู้ เช่นระเบียบการของพนักงาน ผลิตภัณฑ์ของบริษัทคุณที่ขายอยู่ มีรายละเอียดและราคาด้วย ข่าวสารภายในก็ควรมี ทำตอนแรกข้อมูลไม่ต้องเยอะหรอกครับ ความสำคัญอยู่ตรงที่ข้อมูลนั้นพนักงานต้องการ การจะไปค้นหาจากกระดาษยุ่งยากกว่า ใน home page ควรจัดหมวดหมู่ให้ดี ไม่ใช่หายากพอๆกับค้นในกระดาษ และที่สำคัญข้อมูลจะต้องถูกต้อง คอยปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ ถ้าราคาที่เห็นใน home page เชื่อถือไม่ได้ คุณอย่าหวังว่าคราวหน้าเขาจะดู home page ของคุณอีกเลย ถ้าคุณไม่พร้อม ทำให้ดีไม่ได้ อย่าทำเสียดีกว่าครับ 
การสืบค้นข้อมูล ด้วย Google
วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ Googleงงง1 Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back….(พูดง่ายๆ คือค้นหาแบบแยกคำ)งงงการใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำ A และ คำ B (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้มารวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation London OR paris คือ หาทั้งใน London และ Parisงงง3 Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the ,to , of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขี้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่ข้างหน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back + to nature หรือ final fantasy + xงงง4 Google สามารถกับขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทยงงง5 Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่นคำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass – music หมายคามว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น “front mission 3” – filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDFงงง6 การค้นกาแบบทั้งวลี (คือกรค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย * * เช่น *Breath of fire lVงงง7 Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็นภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า “ Translate this page “ ด้านข้างชื่อเว็บ)งงง8 Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ PDF)
Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ PS)
Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)
MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)
Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)
Microsoft powerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)
Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)
Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)
Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)
Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)
Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)
วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น “Chrono Cross’ filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chromo Cross ที่เป็น pdf และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)
งงง9 Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)งงง
10 Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน(โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกันใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลงหาข้อมูลการวิจัยความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมาย ในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
11 Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ UEL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้
12 Google สามารถค้นหาเว็บทีจำเพระเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Standford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
13 ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I’m Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหาส่งให้คุณเลย(link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I’m Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย
14 Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ
15 Google สามารถ หาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
First name (or first initial) , last name, city (state is optional)
First name (or first initial) , last name, state
First name (or first initial) , last name, area code
First name (or first initial) , last name, zip code
Phone number, including area code
Last name, city, state
Last name, zip code
แล้วแต่ว่าจะใช้แบบไหน
16 Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com)
17 Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือกใน Google ไทย
เขียนโดย ครูชาย ที่ 10:20 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกที่ก้าวสู่โลกแห่งการเรียนรู้เทคโนโลยีนานาประเทศต่างพยายามปรับกลยุทธ์ เพื่อยกระดับศักยภาพของสังคมด้วยการนำเทคโนโลยีร่วมสมัยถึงผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคม 4 ด้าน คือ ด้านความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการขยายขอบเขตของความรู้ทั้งในแนวลึกและแนวกว้างให้แก่ผู้ศึกษา ค้นคว้า ผลกระทบประการที่สองคือทำให้เกิดอาชีพใหม่และทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลกระทบประการต่อไปคือสังคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม รวมทั้งความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคม ผลกระทบประการ สุดท้ายคือการอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการศึกษา การดำรงชีวิต ช่วยในการคิด การตัดสินใจ และประหยัดเวลา

เมื่อนักการศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้สามารถแข่งขันในโลกสากล ก่อให้เกิดภูมิปัญญาและการเรียนรู้อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในวงการศึกษาเช่นเดียวกัน เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง ซีดีรอม มัลติมีเดีย อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นต้น

2.1 บทบาทและคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 ; ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2542)
1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" ที่จะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ การเรียนการสอนทางไกลที่ทำให้ผู้เรียนในที่ห่างไกลในชนบทที่ด้อยโอกาส
ให้มีโอกาสเท่าเทียมกับผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ในเมือง รวมทั้งการที่ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่ง
ข้อมูลของโลก ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการสามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย
2) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การที่ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทันเพื่อน ผู้เรียนที่รับข้อมูลได้ปกติสามารถเพิ่ม ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น จากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลกอย่างระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลายและกว้างขวาง อย่างที่ระบบฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศยังทำให้สื่อทางเสียง สื่อข้อความ สื่อทางภาพ สามารถผนวกเข้าหากัน และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ไม่ว่าจะดึงข้อมูลจากสื่อที่เก็บข้อมูล
เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม หรือจากเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีดิจิทัล และการบีบอัดสัญญาณที่ก้าวหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันข้อมูลที่มีประโยชน์ยังสามารถเก็บบันทึกและเรียกใช้ร่วมกันได้จากคลังดิจิทัล (Digital Archive) ในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทความจริงเสมือน (Virtual Reality) ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการฝึกอบรม
3) การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นนี้ได้คำนึงถึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน (Literacy) การสร้างผู้สอนที่มีความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารประกอบการเรียนการสอน การสร้างผู้มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยี สารสนเทศ และที่จำเป็นมากสำหรับประชาชนทั่วไป คือการสร้างทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์
4) บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็น "เครือข่ายแห่งเครือข่าย" (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น การเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทำให้บุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของ
ตนเองต่อโลกได้ง่าย พอกับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator-URL) และผ่านตัวสืบค้น (Search Engines) ต่าง ๆ นอกจากนั้นการสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยสะดวก ความเร็ว และถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบแผนกระดานข่าว (Bulletin Board) และกลุ่มอภิปราย (Discussion Groups) ต่าง ๆ ทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทางจิตวิทยาให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไป


โดยสรุปเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนสัมพันธ์หรือเอื้อต่อการศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร และการบริการสังคม

Digital Library คืออะไร
คือ ห้องสมุดดิจิตัล เป็นการนำเทคโนโลยีหลาย ๆ รูปแบบทั้งสิ่งพิมพ์และข้อมูลดิจิทัลมาประสมประสานในการจัดการกับทรัพยากรสารสนเทศ โดยจัดเก็บให้อยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล  เช่น ความจำอิเล็กทรอนิกส์ หรือ จานแม่เหล็ก หรือ จานออปติคัล ฯลฯ  และมีการเชื่อมโยงกันด้วยระบบเครือข่ายผ่านเส้นใยแก้วนำแสง(Fiber Optic) หรือผ่านดาวเทียมเพื่อให้ผู้ใช้จากทั่วโลกสามารถเข้าถึงสารสนเทศเหล่านี้ได้ 

ทั้งนี้เนื้อหาของสารสนเทศดิจิตัลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เรื่องราวที่สร้างมาและอยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ประเภทหนึ่งและเนื้อหาในวัสดุที่เปลี่ยนจากรูปแบบดั้งเดิม (เช่น หนังสือ จุลสาร รูปภาพ ภาพยนตร์ และเสียง ที่บันทึกไว้) เป็นวัสดุดิจิตัล